เอกสาร
ในกรณีที่คุณต้องการทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย ในด้านเอกสารคุณจำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและจำเป็นต้องมี:
เอกสารจำนวน 4 ชนิด จากประเทศกัมพูชา ก่อนที่คุณจะเดินทาง:

1
หนังสือเดินทาง
อ่านเพิ่มเติม

2
บัตรทำงานต่างประเทศ
อ่านเพิ่มเติม

3
วีซ่า (ประเภท: L-A)
อ่านเพิ่มเติม

4
หนังสือสัญญาการจ้างงาน
อ่านเพิ่มเติม
เอกสาร 3 ชนิด กรณีคุณพำนักในประเทศไทย:

5
หนังสืออนุญาตทำงาน (หนังสือเดินทางเล่มสีน้ำเงิน)
อ่านเพิ่มเติม

6
บัตรประกันสังคม
อ่านเพิ่มเติม

7
บัตรอนุญาตทำงาน
อ่านเพิ่มเติม

8
บัตรสีชมพู
อ่านเพิ่มเติม
เอกสารก่อนออกเดินทาง
ก่อนที่จะพิจารณาการทำงานในประเทศไทย คุณจำเป็นต้องติดต่อกับสำนักจัดหางานเอกชนที่ได้รับการลงทะเบียนรับรองถูกต้อง (PRA) ซึ่งจะเป็นตัวแทนช่วยให้คุณมั่นใจว่า ได้งานทำแน่นอน ปลอดภัยและช่วยเหลือคุณในการเตรียมเอกสารที่จำเป็น โดยมีขั้นตอนที่คุณต้องปฏิบัติตามต่อไปดังนี้.
1. ทำหนังสือเดินทาง
การทำหนังสือเดินทาง คุณต้องเตรียมเอกสาร 3 ชนิด โดย สำนักงานจัดหางานของคุณจะจัดการตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการลงทะเบียนสมัครทำบัตรทำงานในต่างประเทศจากประเทศกัมพูชา (OCWC) และเมื่อคุณมี OCWC คุณสามารถใช้เป็นเอกสารสำหรับทำเอกสารการเดินทาง (หนังสือเดินทางเล่มสีแดงหรือสีดำ).
สูติบัตร- +
ทะเบียนบ้าน- +
บัตรประจำตัวประชาชน- =
หนังสือเดินทางเล่มสีแดง
หรือหนังสือเดินทางเล่มสีดำ/เอกสารการเดินทางที่เรียกว่า ‘ หนังสือเดินทางสีดำ ‘ เป็นเอกสารที่ช่วยให้แรงงานชาวกัมพูชาเดินทางและเข้าพักในประเทศไทยได้ มีค่าใช้จ่าย 35-75 USD และสามารถรับได้ผ่านทางสำนักจัดหางานเอกชนเท่านั้น.
คุณสามารถขอรับหนังสือเดินทางด้วยตัวคุณเองโดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากสำนักงานจัดหางาน.
ในการยื่นขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่คุณต้องไปที่สำนักงานหนังสือเดินทางในพนมเปญ:
ในพนมเปญ:
หากคุณมีหนังสือเดินทางเก่าที่หมดอายุแล้วคุณต้องไปที่สำนักงานหนังสือเดินทางในอำเภอ Niroth.
หากคุณต้องการขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ วิธีที่ง่ายและสะดวกคือไปที่สำนักงานย่อยหนังสือเดินทาง ที่ Aeon Mall,Sen Sok City.
หนังสือเดินทางในเขต Niroth: แผนกหนังสือเดินทางและการตรวจคนเข้าเมือง
|
(+855)0 69 92 38 38 |
สำนักงานย่อยแผนกหนังสือเดินทาง ใน Aeon Mall Sen Sok City |
บันเตียเมียนเจย:
52-54, หลักกิโลเมตรที่ 4, เมือง Sangkat | (+855) 061 211 198 |
พระตะบอง:
F.29, หมู่บ้าน Chumnyik, ตำบล Anglongvol, อำเภอ Sangkoa | (+855) 070 868688 |
เกาะกง:
หมู่บ้านเลขที่4, Sangkat Dongtong , เมืองKamarakpument | (+855) 081 844 812 |
ค่าใช้จ่ายในการทำหนังสือเดินทางกัมพูชา:
- 100 USD ดำเนินการภายใน15วันทำการ
- 150 USD ดำเนินการภายใน7วัน
- 200 USD ดำเนินการภายใน 1วัน
หนังสือเดินทางมีอายุ 10 ปี
ข้อเสนอแนะ: คุณสามารถขอทำหนังสือเดินทางด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้บริการสำนักงานจัดหางานก็ได้ แต่หนังสือเดินทางไม่ใช่เอกสารอย่างเดียวที่คุณต้องมีในการทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ทั้งนี้คุณยังต้องขอความช่วยเหลือจากสำนักจัดหางานเพื่อจัดการเรื่องเอกสารอื่นๆที่เหลือ หากคุณมั่นใจในตัวแทนของสำนักงานจัดหางานที่คุณใช้บริการ คุณสามารถมอบหมายให้กับตัวแทนนั้น ทำการรวบรวม จัดหาเอกสารอื่นๆ กรุณาตรวจสอบว่าสำนักงานจัดหางาน ที่คุณกำลังใช้บริการเป็นสำนักงานที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลแล้ว โดยไปที่ (……….PRA).
หนังสือเดินทางสำหรับคนงานชาวกัมพูชาเป็นแบบที่รัฐบาลกัมพูชาออกให้กับคนงานในประเทศกัมพูชาเพื่อให้สามารถใช้ได้ในต่างประเทศและมีอายุ 5 ปีเท่านั้น ในขณะที่เอกสารการเดินทางจะใช้ได้เฉพาะประเทศกัมพูชาและประเทศไทย ในขณะนี้กำลังอยู่ที่มีกระบวนการเจรจาเพื่อเดินทางเข้าประเทศอื่นๆเพิ่มเติม.
หากต้องการสมัครทำหนังสือเดินทางสีดำ สิ่งแรกคือ ต้องทำงานในประเทศไทยและคุณต้องมีนายจ้างของคุณในประเทศไทยก่อนแล้ว หรือคุณจำเป็นต้องลงทะเบียนกับสำนักงานจัดหางาน (PRA) ในประเทศกัมพูชาเพื่อจัดหาตำแหน่งงานในประเทศไทย.
PRA จะจัดการเรื่องเอกสารของคุณ เริ่มแรกจะสมัครบัตรทำงานต่างประเทศกัมพูชา(OCWC) ให้คุณ เมื่อคุณมี OCWC หมายความว่าคุณเป็นแรงงานที่สามารถทำงานได้ และนำเอกสารนี้ใช้สมัครทำหนังสือเดินทางได้
ขณะนี้คุณสามารถใช้บริการ OCWC แบบครบวงจร ซึ่งให้บริการโดยกรมแรงงานและแผนกหนังสือเดินทาง ในพนมเปญคุณสามารถไปที่ ห้างสรรพสินค้า หรือ PHSAR STEUNG MEANCHEY TMEY หรือคุณสามารถไปที่จังหวัดพระตะบอง จังหวัดเกาะกงและ จังหวัดบันเตียเมียนเจย
2. ใบอนุญาตทำงาน (OCWC)
เอกสารนี้ได้รับจากสำนักจัดหางานเอกชนสำหรับคนงานต่างด้าว
ด้านหน้า
ด้านหลัง
3. ประเภทวีซ่า L-A
มีวีซ่าหลายประเภทที่มีลักษณะคล้ายกันมาก แตกต่างกันที่ตัวอักษร:
เฉพาะวีซ่าแรงงาน (ตัวอักษร: L-A) อนุญาตให้คุณทำงานในประเทศไทย อายุวีซ่า 2ปีและคุณไม่สามารถทำวีซ่านี้ด้วยตัวเอง–สำนักจัดหางานเอกชนจะทำการสมัครให้คุณ.
ข้อเสนอแนะ : เมื่อคุณได้รับหนังสือเดินทางจากสำนักงานจัดหางานเอกชน ให้ตรวจสอบว่าคุณมีวีซ่าประเภทใด มองหาตัวอักษร L-A หากคุณพบว่าวีซ่าของคุณเป็นวีซ่าท่องเที่ยว (TR), คุณไม่สามารถใช้ทำงานได้ ให้นำหนังสือเดินทางของคุณกลับไปติดต่อยังสำนักงานจัดหางานเอกชนที่คุณใช้บริการ ให้จัดทำวีซ่าให้ถูกประเภทโดยไม่มีการชำระเงินเพิ่มเติม-มันไม่ได้เป็นความผิดของคุณที่วีซ่าไม่ถูกต้อง หากสำนักงานจัดหางานเอกชนยังคงต้องการเงินพิเศษเพิ่มเติม ในกรณีที่คุณอยู่ในจังหวัดพนมเปญ หรือสถานที่มีกรมแรงงานและการฝึกอบรมวิชาชีพควรยื่นเรื่องร้องเรียนกับกระทรวงแรงงาน หากคุณอยู่ในจังหวัดอื่นใด ให้ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ในเว็บไซต์นี้.
4. สัญญาจ้างงาน
สัญญาการจ้างงานเป็นข้อตกลงระหว่างคุณกับนายจ้างของคุณ เป็นเอกสารที่สำคัญมาก แสดงถึงภาระ หน้าที่ของคุณในตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานและของนายจ้างของคุณ. ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนที่คุณลงชื่อและคุณต้องได้รับสำเนาที่ลงชื่อไว้แล้วมาด้วย
TIP:
- สัญญาควรจะเขียนทั้งภาษาเขมรและภาษาไทย
- สัญญาจะต้องได้รับการลงนามโดยคุณและลงนามพร้อมประทับตราโดยนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างที่คุณจะทำงานให้
- ห้ามลงนามในกระดาษเปล่าหรือข้อความที่เขียนในภาษาที่คุณไม่เข้าใจ
- หากคุณมีปัญหา หรือไม่เข้าใจข้อความให้ขอความช่วยเหลือจากคนที่คุณไว้ใจ
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีสำเนาของสัญญา
อย่างน้อยที่สุดสัญญาจ้างงานควรรวมถึง:
- ข้อมูลเกี่ยวกับคุณและนายจ้างของคุณ: ชื่อของคุณชื่อนายจ้างชื่อของบริษัทและที่อยู่
- ประเภทของงานและหน้าที่ของคุณ: สิ่งที่คุณจะทำ
- เงินเดือนและสิทธิประโยชน์: วิธีการและเวลาที่คุณจะได้รับเงิน
- ชั่วโมงการทำงาน: จำนวนชั่วโมงที่คุณจะทำงานและวิธีการชำระเงินล่วงเวลา และวิธีคำนวณ (โดยปกติจะเป็น8ชั่วโมง/วัน)
- วันลา วันหยุด: จำนวนวันหยุด และ วันหยุดพิเศษที่คุณจะได้
- ข้อมูลเกี่ยวกับความคุ้มครอง การประกันสุขภาพซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
- รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาจ้างงาน
ตัวอย่างของสัญญาการทำงาน:
เอกสารที่จะได้รับตอนที่อยู่ในประเทศไทย
5. หนังสืออนุญาตทำงาน
ออกโดยกระทรวงแรงงานในประเทศไทย นายจ้างจำเป็นต้องนำแรงงานมาเพื่อจัดทำเอกสารที่กระทรวงแรงงานและแรงงานนั้นต้องได้รับเอกสารด้วยตนเอง เอกสารที่จำเป็นคือบัตรประจำตัวของนายจ้าง, ทะเบียนบ้านของนายจ้าง, แผนที่ของที่ทำงาน, สำเนาหนังสือเดินทางของแรงงานต่างด้าว,รูปภาพขนาด 3×4 ของแรงงานต่างด้าว, สัญญาการทำงานและใบรับรองสุขภาพของผู้อพยพ.
ค่าใช้จ่าย 3,000บาท/ปี มีอายุการใช้งานหนึ่งปี
6. บัตรประกันสังคม
บัตรประกันสังคม ออกโดยสำนักงานประกันสังคม ปัจจุบันสำนักงานไม่ได้ออกบัตรนี้และพนักงานสามารถตรวจสอบการประกันสังคมโดยการแจ้งหมายเลขประจำตัวกับสำนักงานประกันสังคม นายจ้างจะต้องแจ้งให้สำนักงานประกันสังคมทราบเพื่อลงทะเบียนประกันสังคม ค่าใช้จ่ายชำระเป็นรายเดือนโดยนายจ้าง,พนักงานและรัฐบาลขึ้นอยู่กับเงินเดือนของพนักงาน ซึ่งหมายถึง นายจ้างงานจะจ่าย 5%, พนักงานจะจ่าย 5% และรัฐบาลจะจ่าย2.75% ขึ้นอยู่กับเงินเดือนของพนักงาน พนักงานที่สมัครประกันสังคมต้องทำการตรวจสอบสัญชาติ และจำเป็นต้องมีใบอนุญาตทำงาน/หนังสือเดินทางหรือเอกสารแสดงตน สิทธิ์ประกันสังคมครอบคลุมในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน, ความพิการ, เสียชีวิต, คลอดบุตร, ผลประโยชน์สำหรับบุตร, การว่างงาน,การเกษียณอายุและเจ็บป่วย
7. บัตรใบอนุญาตทำงาน
a. บัตรอนุญาตทำงานเป็นผลมาจากการทำสัญญา MOU ระหว่างประเทศกัมพูชากับประเทศไทย ออกโดยกรมแรงงานในประเทศไทยและแสดงสิทธิที่แรงงานจะได้รับ หลังจากที่พวกเขาฝึกอบรมที่ศูนย์บริการคนต่างด้าว จังหวัดสระแก้ว (ที่ชายแดน)
เอกสารที่จำเป็นสำหรับหน่วยงานคือบัตรประจำตัวของนายจ้าง, ทะเบียนบ้านของนายจ้าง, แผนที่ของที่ทำงาน, สำเนาหนังสือเดินทางของคนงานต่างด้าว, รูปภาพขนาด 3 * 4 นิ้ว ของคนต่างด้าว, สัญญาการทำงาน,ใบตรวจรับรองสุขภาพของแรงงานและรายชื่อผู้ปฏิบัติของนายจ้าง ค่าใช้จ่าย 15,000 บาท เอกสารมีอายุ 2 ปี
8. บัตรสีชมพู
บัตรสีชมพู ถูกออกโดยกระทรวงแรงงาน บัตรนี้เป็นแบบฟอร์มเก่าของใบอนุญาตการทำงานที่อนุญาตผู้ใช้แรงงานต่างด้าวสามารถทำงานในประเทศไทยได้เป็นเวลา 2 ปี และต้องทำใหม่เมื่อบัตรหมดอายุ ในปัจจุบันบัตรสีชมพูทั้งหมดที่กำลังจะหมดอายุภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 จะต้องเปลี่ยนเป็น บัตร MOU หรือ ใบอนุญาตทำงาน ที่กระทรวงแรงงาน
ผู้ช่วยนายหน้าจัดหางานเพื่อหางานในประเทศไทย
เมื่อคุณถูกคัดเลือกและถูกส่งไปทำงานที่ประเทศไทยโดย นายหน้าจัดหางานเอกชน นายหน้าจัดหางานมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเตรียมผู้ช่วย และช่วยคุณเตรียมเอกสารต่างๆ รวมถึงเอกสารการท่องเที่ยว และการทำงานทั้งในประเทศกัมพูชา และประเทศไทย, จัดเตรียมการอบรมก่อนทำงาน, ทักษะ, ปฐมนิเทศพนักงาน, พาคุณไปที่ทำงาน และ จัดเตรียมผู้ช่วยให้คุณเป็นเวลา 3 ปี ในการทำงานที่ประเทศไทย
คุณจะต้องมั่นใจว่าจำนวนเงินที่จ่ายกับนายหน้าจัดหางานนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ ในขณะที่ไม่มีราคาที่แน่นอนสำหรับ การจัดหางาน และการบริการตำแหน่งสำหรับผู้ใช้แรงงานชาวกัมพูชา ปัจจุบันมีผู้ช่วยจัดหางานจำนวนมาก ที่ได้รับอนุญาตโดยรัฐบาลให้จัดหา และ ส่ง ผู้ใช้แรงงานชาวกัมพูชาไปต่างประเทศ ดังนั้นควรตรวจสอบข้อมูลจากผู้ช่วยนายหน้าจัดหางานหลายๆที่ ที่ให้บริการในประเทศกัมพูชา
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่นายหน้าผู้จัดหางานทั้งหมดที่ได้ลงทะเบียนอย่างถูกกฎหมาย ดังนั้นเพื่อความแน่ใจ คุณควรเลือกกับตัวแทนที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว หรือสามารถติดต่อได้ทั้ง MOLVT หรือ สำนักงานกระทรวงแรงงานจังหวัด และ การฝึกอบรมอาชีพ เพื่อตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนของผู้จัดหาแรงงาน หรือจะติดต่อ สมาคมผู้จัดหางานแห่งประเทศกัมพูชา (ACRA) เบอร์ติดต่อจากประเทศกัมพูชา 023 67 9999 6 เบอร์ติดต่อจากต่างประเทศ +855 23 67 9999 6
ถ้ามีการเสนองานในประเทศไทยให้กับคุณหรือ คุณต้องการติดต่อกับทางผู้ช่วยนายหน้าจัดหางานเพื่อทำงานในประเทศไทย ข้อมูลที่ต้องสอบถามมีดังนี้ ชื่อองค์กร หรือ ผู้ช่วยนายหน้าจัดหางาน สถานที่ที่คุณจะไปทำงาน ประเภทของงาน กระบวนการเกี่ยวกับการยื่นเอกสาร และราคาของการบริการ ซึ่งควรสอบถามจากตัวแทนจากหลากหลายที่ เพื่อเปรียบเทียบราคา
ตามข้อกำหนดว่าด้วยกฎหมายมาตรการทางชายแดน มาตราที่ 190 การส่งผู้ใช้แรงงานชาวกัมพูชาไปต่างประเทศ โดยผ่านนายหน้าจัดหางานเอกชน ทางนายหน้าจัดหางานมีหน้าที่จัดเตรียมผู้ช่วยให้ผู้ใช้แรงงานชาวกัมพูชาทั้งในขณะที่อยู่ในประเทศกัมพูชา และในประเทศไทย จนกระทั่งผู้ใช้แรงงานกัมพูชากลับถึงประเทศกัมพูชา ดังนั้นคุณสามารถ ติดต่อ หรือขอความช่วยเหลือจากผู้ช่วยนายหน้าจัดหางานได้ตลอดระยะเวลาที่ทำงาน
เมื่อสัญญาของประเทศไทยแตกต่างจากสัญญาของประเทศกัมพูชา
เมื่อสัญญาของประเทศกัมพูชาแตกต่างจากสัญญาของประเทศไทย สัญญานี้ถูกเรียกว่า การทดแทนสัญญา ซึ่งมีผู้ใช้แรงงานประเทศกัมพูชาบางส่วนเคยมีประสบการณ์ ในการทำสัญญานี้ ในขณะที่ทำงานในประเทศไทยแล้ว หากคุณเผชิญหน้ากับปัญหานี้ ลำดับแรก สอบถามนายหน้าจัดหางานเอกชนที่คุณทำสัญญาด้วยเพื่อแก้ปัญหานี้ ถ้าหากเอกสารนี้มีการลงชื่อที่ประเทศกัมพูชาแล้ว ห้ามลงชื่อในสัญญาอื่น ๆ จากนายจ้างที่ประเทศไทยโดยเด็ดขาด
ถ้าผู้ช่วยนายหน้าจัดหางาน ไม่จัดเตรียมผู้ช่วยเพื่อช่วยเหลือเกี่ยวกับ การทดแทนสัญญานี้ คุณสามารถติดต่อสถานทูตกัมพูชาในประเทศไทย หรือ ที่ปรึกษาแรงงานในไทยเพื่อขอความช่วยเหลือ
ห้ามลงชื่อในสัญญาใดๆ หากคุณไม่เข้าใจภาษานั้น ทั้งในประเทศกัมพูชาและประเทศไทย เมื่อคุณลงชื่อในสัญญาว่างจ้างแล้ว หมายความว่า คุณเห็นด้วยกับข้อตกลงในสัญญานั้น ดังนั้นนี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่คุณต้องอ่าน และเข้าใจทุกอักษรในสัญญา ถ้าคุณไม่เข้าใจอย่ารอช้าที่จะมองหาความช่วยเหลือจาก NGO เพื่อทำให้มั่นใจว่าคุณเข้าใจทุกส่วนของสัญญาดีแล้วก่อนลงชื่อ และไม่มีใครสามารถบังคับให้คุณลงชื่อในสัญญาได้ หากนายจ้างของคุณมีการบังคับเพื่อให้ลงชื่อในสัญญา คุณสามารถรายงานพฤติกรรมนั้น และขอความช่วยเหลือได้
ข่าวสาร
และเหตุการณ์ต่างๆดูทั้งหมด

ไทยยื่นสัตยาบันต่ออนุสัญญา ILO ว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง ฉบับที่ 188
เมื่อวันที่ 30 มกราคม รัฐบาลไทยประกาศยื่นสัตยาบันสารอนุ […] อ่านเพิ่มเติม

จดหมายแสดงความขอบคุณต่อ GVC ในจังหวัดอุดดอร์เมียนเจย
GVC ได้รับจดหมายแสดงความขอบคุณจากนายอำเภอประจำอำเภออุดด […] อ่านเพิ่มเติม

ครบกำหนดการขึ้นทะเบียนแรงงานอพยพ ในประเทศไทย
แรงงานที่ยังไม่ได้จดทะเบียนมีเวลาในการไปจดทะเบียนในประเ […] อ่านเพิ่มเติม