ข้อเสนอแนะสำหรับ
แรงงานข้ามชาติ
ในทุก ๆ วัน ชาวกัมพูชาจำนวนมาก ได้ข้ามเขตชายแดนเข้ามายังประเทศไทยเพื่อหางานทำ แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่จะได้รับค่าจ้างและยังมีสิทธิ์ที่จะใช้วันหยุดและเข้าถึงการดูแลสุขภาพ (ผ่านประกันสุขภาพ) และสวัสดิการต่าง ๆ (ผ่านประกันสังคม)
แต่ก็มีบางรายที่โชคอาจไม่ดีนักที่ถูกนายจ้างยึดหนังสือเดินทางไป ไม่จ่ายเงินค่าจ้างหรือถูกบังคับให้ทำงานล่วงเวลาโดยไม่จ่ายค่าแรงเพิ่ม และที่ร้ายไปกว่านั้น บางคนยังถูกกักขังอย่างไร้เหตุผลโดยปราศจากความช่วยเหลือใดๆ
ยิ่งคุณมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิ์ของคุณมากเท่าไร คุณก็จะได้มีการเตรียมตัวมากขึ้นก่อนที่จะออกเดินทาง ยิ่งคุณรู้มากเท่าไหร่ ประสบการณ์การทำงานของคุณก็จะดีขึ้นและปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น!
โปรดจำไว้ว่า : ไม่ว่าสถานะปัจจุบันของคุณในประเทศไทยจะเป็นอย่างไร (ไม่ว่าคุณจะมีเอกสารการทำงานหรือไม่) คุณมีสิทธิ์ที่จะได้รับความเคารพและการคุ้มครองสิทธิ์ของคุณในการมีความเป็นอยู่อย่างอิสระจากการถูกคุกคามและการเอาเปรียบ
การเตรียมตัวก่อนเดินทางเข้ามา :
โปรดเตรียมตัวก่อนเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยเตรียมการดังนี้:
เตรียมเอกสารของคุณให้พร้อมและมั่นใจว่าต้องเป็นเอกสารดังนี้ :
เตรียมเอกสารของคุณให้พร้อมและมั่นใจว่าต้องเป็นเอกสารดังนี้ :
- หนังสือเดินทาง (สำหรับเอกสารการเดินทาง)
- บัตรคนงานต่างชาติกัมพูชา
- วีซ่า (ประเภท L – A)
- สัญญาจ้างงาน ในประเทศไทยคุณจะต้องยื่นเอกสารอีก 3 ฉบับ
- หนังสืออนุญาตทำงาน (หนังสือเดินทางสีน้ำเงิน)
- บัตรประกันสุขภาพ
- ใบอนุญาตทำงาน
ทำสำเนาเอกสารที่สำคัญทั้งหมดไว้และเก็บไว้กับครอบครัวหรือเพื่อนที่น่าเชื่อถือได้ในกัมพูชา สำรองสำเนาไว้และถ่ายรูปเอกสารของคุณและจัดเก็บไว้ในโทรศัพท์ ส่วนเอกสารฉบับจริงให้รักษาไว้ให้ดีและไม่ควรให้ไว้แก่นายจ้าง
หาข้อมูลเกี่ยวกับนายจ้างและชื่อของบริษัท ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ โดยข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ในสัญญาการจ้างงาน มอบให้ไว้แก่ครอบครัวหรือเพื่อนที่คุณไว้ใจที่กัมพูชา
พิมพ์หรือทำสำเนารายชื่อติดต่อที่สำคัญ (เก็บไว้กับครอบครัวของคุณ)
หมั่นติดต่อกับครอบครัวหรือเพื่อนที่ไว้ใจได้ โทรหาพวกเขาเป็นประจำหรือติดต่อพวกเขาผ่านโซเชียลมีเดีย
ตรวจสอบว่ามีค่าใช้จ่ายหรือค่าที่พักใด ๆ ที่จะถูกจ่ายโดยจากนายจ้างหรือ บริษัทจัดหางาน ตรวจสอบว่ามีค่าใช่จ่ายส่วนใดที่คุณจะต้องจ่ายและคำนวณว่าคุณจะจ่ายได้อย่างไร รับข้อมูลทั้งหมดนี้และทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
อ่านเกี่ยวกับสิทธิ์ของคุณและทราบถึงภาระหน้าที่ของคุณตามที่แสดงด้านล่าง:
สิทธิ์ของคุณในประเทศไทย
ในฐานะแรงงานข้ามชาติคุณมีสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองเสมอ (ไม่ว่าคุณจะมีเอกสารการทำงานหรือไม่) คุณมีสิทธิ์ที่จะร้องทุกข์และขอความคุ้มครอง หากคุณรู้สึกว่านายจ้างของคุณฉ้อฉลหรือปฏิเสธสิทธิ์ใด ๆ ตามที่ระบุด้านล่าง – ให้คุณขอความช่วยเหลือหรือยื่นเรื่องร้องเรียน โดยเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ในส่วนของเบอร์ติดต่อที่สำคัญเพื่อขอความช่วยเหลือ
ในประเทศไทยคุณมีสิทธิเช่นเดียวกันกับแรงงานสัญชาติไทย คุณยังมีสิทธิ์ได้รับอัตราเงินเดือนเหมือนคนไทยที่ทำงานเหมือนกัน คุณมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามที่รัฐบาลไทยกำหนด ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด โดยเงินเดือนจะต้องอยู่ระหว่าง 308 ถึง 330 บาทรวมถึงการทำงานล่วงเวลาต่อวัน

เอกสารและสัญญา
คุณมีสิทธิ์ที่จะเก็บหนังสือเดินทางและเอกสารการจ้างงานอื่นๆ ไว้กับตัว ไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะยึดหรือเก็บรักษาเอกสารของคุณไว้รวมถึงนายจ้างหรือบริษัทจัดหางานของคุณ แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาอาจเก็บคืนเอกสารของคุณได้
คุณจะต้องเซ็นสัญญาจ้างงาน โดยเขียนเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายและชัดเจน นายจ้างควรเซ็นและประทับตราในสัญญาและคุณต้องมีสำเนาสัญญาการจ้างงานเก็บไว้ด้วย
เวลาทำงาน
เวลาทำงานจะถูกระบุไว้ในสัญญาจ้างงาน กฎหมายแรงงานของไทยระบุว่าคนงานทุกคนสามารถทำงานได้ 8 ชั่วโมงต่อวันหรือ 6 วันต่อสัปดาห์ เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กฎกระทรวงกำหนด ต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกิน 7 ชั่วโมงและไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
นอกจากนี้ตามกฎหมายไทย ระบุให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวันในระหว่างทำงาน โดยเริ่มหลังจาก 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน อย่างไรก็ตามเนื่องจากสภาพการทำงานที่หนัก ชาวประมงและคนรับใช้ในบ้านควรพักผ่อนอย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อวัน
ลูกจ้างมีสิทธิ์หยุดได้หนึ่งวันต่อสัปดาห์ หากลูกจ้างตกลงที่จะทำงานในหยุดนี้ ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าล่วงเวลา
การทำงานล่วงเวลา
การทำงานล่วงเวลาคือทางเลือก ซึ่งตัวลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการทำงานล่วงเวลา โดยเวลาการทำงานสูงสุดคือ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เวลาทำงานทั้งหมด
ของลูกจ้างจะต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน หากตกลงที่จะทำงานนานกว่าปกตินายจ้างจะต้องจ่ายเงินเพิ่มให้ลูกจ้าง:
- สำหรับการทำงานล่วงเวลาในวันทำงานคุณควรได้รับ 1.5 เท่าของค่าจ้างตามปกติ
- สำหรับการทำงานล่วงเวลาในช่วงวันหยุดหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ลูกจ้างควรได้รับค่าจ้างปกติ 2 เท่าของค่าแรงขั้นต่ำ
การจ่ายเงินและสลิปเงินเดือน
ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะได้รับการชำระเงินหนึ่งครั้งต่อเดือนและเป็นเงินสดได้หากลูกจ้างต้องการ รายละเอียดการชำระเงินจะรวมอยู่ในสัญญาการจ้างงาน – โปรดอ่านสัญญาจ้าง หากลูกจ้างต้องการค่าแรงที่มากกว่าปกติลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะเจรจากับนายจ้างได้
ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินเดือนที่ค้างชำระสำหรับงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้วแม้ว่าลูกจ้างจะถูกจับกุม แม้ว่าลูกจ้างจะลาออกจากงานหรือถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างสามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายสำหรับวันลาที่ไม่ได้ใช้ และนายจ้างไม่สามารถระงับค่าจ้างลูกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ รวมไปถึงเงินเดือน ลูกจ้างควรได้รับสลิปเงินเดือนซึ่งออกเป็น ‘ใบเสร็จ’ จากนายจ้าง หากเงินถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร ก็ควรจะได้รับการแจ้งเตือนจากธนาคาร
หากไม่ได้รับค่าจ้างบางส่วนของค่าแรงหรือไม่ถูกจ่ายเลย เงินที่ถูกหักเพิ่มโดยที่ไม่ได้ระบุไว้กับนายจ้าง หากลูกจ้างไม่ได้รับสลิปเงินเดือนหรือไม่ได้เขียนไว้ชัดเจนลูกจ้างมีสิทธิ์ยื่นเรื่องร้องเรียนได้
แรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนในประเทศกัมพูชาที่กระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมสายอาชีพส่วนภูมิภาค หรือกระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมอาชีพ
วันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดราชการ
ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะได้รับวันหยุด
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะได้รับวันหยุด 13 วันต่อปี ตามวันหยุดราชการของประเทศไทย หากวันหยุดราชการตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ลูกจ้างมีสิทธิ์หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป หากลูกจ้างมาทำงานในวันหยุดราชการ ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าจ้างพิเศษ (ดูในหมวดการทำงานล่วงเวลา)
- ลูกจ้างมีสิทธิ์หยุดพักผ่อนประจำปี 6 วันต่อปี (หากทำงานมาแล้ว 1 ปีติดต่อกัน)
- มีสิทธิ์ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างไม่เกินปีละ 30 วันทำงาน:
- หากลาป่วยเป็นเวลา 3 วันทำการขึ้นไป ลูกจ้างจะต้องได้รับใบรับรองแพทย์
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะได้รับรายได้ระหว่างเจ็บป่วย
- ลูกจ้างผู้หญิงมีสิทธิ์ได้รับการลาคลอด 98 วันและได้รับค่าจ้าง 50% ของเงินเดือนปกติ ค่าธรรมเนียมโรงพยาบาลสำหรับลูกจ้างได้รับความคุ้มครอง: 50% โดยนายจ้าง และอีก 50% ได้รับการคุ้มครองจากเงินประกันสังคมของประเทศไทย
การยกเลิกการจ้างงานและการเปลี่ยนนายจ้าง
ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะได้รับการแจ้งเตือนหากนายจ้างต้องการยกเลิกการจ้างงาน เมื่อวันที่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาการจ้างงานของลูกจ้างอย่างไรก็ตามตามกฎหมายปัจจุบันในประเทศไทยที่ บันทึกข้อตกลงระหว่างกัมพูชาและไทยลูกจ้างยังไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้อย่างอิสระ
ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกัมพูชาและไทยลูกจ้างสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ในกรณีต่อไปนี้ ถ้าหาก:
- นายจ้างเสียชีวิต
- สัญญาการจ้างงานสิ้นสุดลงหรือบริษัทได้ปิดตัวลง
- ถูกทำร้ายโดยนายจ้าง (ตัวอย่างเช่น เสรีภาพในการโยกย้ายถูกจำกัด หรือถูกทำร้ายทางกายและจิตใจ)
- นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (ตัวอย่างเช่น จ่ายเงินเดือนไม่ตรงเวลา ไม่ยอมรับวันลาของลูกจ้าง บังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาโดยไม่จ่ายเงินเพิ่มเป็นต้น)
- นายจ้างใหม่ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับนายจ้างเดิม
ในกรณีต้องการที่จะเปลี่ยนนายจ้างให้ติดต่อ บริษัทจัดหางาน:
ในการเปลี่ยนนายจ้างต้องติดต่อ บริษัทจัดหางานในขณะที่นายจ้างใหม่จะต้องลงทะเบียนลูกจ้างที่กรมการจัดหางานภายใน 30 วันหลังจากการยกเลิกงานเดิม ซึ่งจะต้องมีการแจ้งให้ทราบด้วยจากนายจ้างเก่า
สำหรับผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชนที่ไม่ใช่คนไทย (บัตรสีชมพู) ในการที่จะเปลี่ยนนายจ้าง นายจ้างใหม่จะต้องลงทะเบียนที่กรมการจัดหางานภายใน 15 วันหลังจากการยกเลิกงานเดิมซึ่งได้มีการแจ้งให้ทราบด้วยจากนายจ้างเก่า
ลูกจ้างสามารถเปลี่ยนนายจ้างโดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ที่กรมการจัดหางานของกระทรวงแรงงาน
นายจ้างใหม่จะต้องเสนองานแบบเดียวกันให้กับลูกจ้าง โดยนายจ้างเก่ายังจะต้องลงนามในแบบฟอร์มการโยกย้ายเพื่อเป็นการอนุญาตให้สามารถทำงานกับนายจ้างใหม่ภายใน 7 วัน
เสรีภาพในการเคลื่อนไหว
ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะเข้า-ออกสถานที่ทำงานได้อย่างเสรี และมีสิทธิ์ที่จะออกไปจากสถานที่ทำงานได้ในช่วงเวลาว่าง นายจ้างไม่มีสิทธิ์ที่จะกักกันลูกจ้าง นายจ้างไม่มีสิทธิ์ที่จะล็อคห้องขังลูกจ้าง แต่ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะล็อคห้องตัวเองจากทางด้านใน
ข้อควรปฏิบัติของลูกจ้าง
ไม่ควรออกจากงานโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
หากคุณประสบปัญหาในการทำงานให้พูดคุยกับครอบครัวของคุณหรือเพื่อนที่ไว้ใจได้ พูดคุยกับนายจ้างหรือ บริษัทจัดหางานที่ช่วยเหลือในการหาที่ทำงาน
หากวิธีนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โปรดติดต่อหน่วยงานรัฐบาลไทยองค์กรเอกชนหรือสถานทูตกัมพูชาในประเทศไทย: ค้นหาหมายเลขติดต่อได้ที่นี่
รายงานการลา
หากต้องการที่จะลางาน ลูกจ้างจะต้องแน่ใจว่าได้แจ้งนายจ้างให้ทราบล่วงหน้าแล้ว หากลูกจ้างหายไปจากงานหรือขยายวันออกไปโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า อาจเป็นเหตุทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงได้
การแจ้งลาป่วย
หากลูกจ้างเกิดป่วยกะทันหันและทำให้ไม่สามารถไปทำงานได้ จะต้องแจ้งให้นายจ้างทราบโดยเร็วที่สุด และจะเป็นการดีถ้าหากมีหนังสือรับรองจากแพทย์ด้วย โดยเฉพาะกรณีที่ลาป่วยเกิน 3 วันทำการ
ห้ามอยู่เกินกำหนด
ลูกจ้างจะต้องเข้ารายงานตัวทุก 90 วัน ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ใกล้ที่สุด โดยกรอกแบบฟอร์มพร้อมที่อยู่ปัจจุบัน การดำเนินการนี้ไม่มีค่าบริการ และไม่ควรมีใครเรียกเก็บค่าบริการ
ท่านสามารถค้นหาสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ใกล้ท่านได้ ตามที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อตามข้อมูลด้านล่างนี้
-
สำนักงาน
ที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์
กองบังคับการอำนวยการ
507 ซอยสวนพลู, เขตสาธร กรุงเทพฯ
กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง1
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพฯ
(0066) 0 2141 9889
กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง2
จังหวัดสมุทรปราการ
(0066) 0 134 0841 4
กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง3
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพฯ
(0066) 0 2141 9953
กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง4
จังหวัดนครราชสีมา
(0066) 0 4421 2997 – 8
กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง5
จังหวัดเชียงใหม่
(0066) 0 5312 1323
กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง6
จังหวัดสงขลา
(0066) 0 74552594
(0066) 0 7455 2592
กองบังคับการสืบสวนสอบสวน
507 ซอยสวนพลู, เขตสาธร กรุงเทพฯ
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศตรวจคนเข้าเมือง
ซอยสวนพลู, เขตสาธร กรุงเทพฯ
นอกจากนี้: ตรวจสอบหนังสือเดินทางและตราประทับวีซ่าของท่านและจำไว้ว่าจะครบกำหนดเมื่อใด
หากท่านอาศัยอยู่ในประเทศไทยเกินกำหนด ท่านจะถูกปรับ 500 บาทต่อวัน หากอยู่เกินกว่า 90 วันท่านจะถูกจับกุมและถูกส่งกลับโดยไม่มีโอกาสกลับมาเป็นเวลา 1 ปี
ระยะเวลาที่เกินกำหนด |
ระยะเวลาถูกสั่งห้ามไม่ให้กลับเข้าประเทศ |
เกินกำหนด 90 วัน |
1 ปี |
เกินกำหนด 1 ปี |
3 ปี |
เกินกำหนด 3 ปี |
5 ปี |
เกินกำหนด 5 ปี |
10 ปี |
ข่าวสาร
และเหตุการณ์ต่างๆดูทั้งหมด

ไทยยื่นสัตยาบันต่ออนุสัญญา ILO ว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง ฉบับที่ 188
เมื่อวันที่ 30 มกราคม รัฐบาลไทยประกาศยื่นสัตยาบันสารอนุ […] อ่านเพิ่มเติม

จดหมายแสดงความขอบคุณต่อ GVC ในจังหวัดอุดดอร์เมียนเจย
GVC ได้รับจดหมายแสดงความขอบคุณจากนายอำเภอประจำอำเภออุดด […] อ่านเพิ่มเติม

ครบกำหนดการขึ้นทะเบียนแรงงานอพยพ ในประเทศไทย
แรงงานที่ยังไม่ได้จดทะเบียนมีเวลาในการไปจดทะเบียนในประเ […] อ่านเพิ่มเติม