การดำเนินการสนับสนุน
การดำเนินการสนับสนุนเป็นส่วนสำคัญในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดของเรา เราติดตามนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นฐาน ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลไทยได้พัฒนาขึ้น และเราส่งเสริมให้เกิดการนำกฎหมายเหล่านี้ไปปรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายของเราคือการกำจัดช่องว่างระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในชุมชน ได้แก่ ชาวบ้าน เจ้าพนักงานในพื้นที่ และผู้บังคับใช้กฎหมาย รวมถึงผู้ออกกฎหมายในระดับชาติและระหว่างประเทศ ในการทำโครงการต่าง ๆ เราได้รวบรวมพยานหลักฐานจากผู้ย้ายถิ่นและครอบครัวของพวกเขาและทำการประเมินและวิจัย ซึ่งจากผลที่ได้และการสังเกตจากงานในชุมชนซึ่งเราได้ร่วมมือกับกลุ่มต่าง ๆ ทำให้เราสามารถรังสรรค์กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชากรในกลุ่มที่เปราะบางและส่งเสริมให้เกิดการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติได้
เราได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการครั้งสำคัญ ๆ ทั้งในระดับจังหวัด ระดับชาติและอาเซียนซึ่งเป็นผลมาจากกลยุทธ์ที่เรามี ประกอบกับข้อมูลและพยานหลักฐานต่าง ๆ จากผู้ที่เคยย้ายถิ่น เรามีส่วนร่วมในการประชุมระดับสูงหลายครั้งเช่นการประชุมที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการต่อต้านการค้ามนุษย์ในระดับชาติและระดับจังหวัด (NCCT และ PCCT) ของกัมพูชา ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะทำงานนายกรัฐมนตรีเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ และคณะทำงานเชิงบูรณาการและอัยการจังหวัดเพื่อการจัดการดูแลกรณีต่าง ๆ อันรวมถึงชาวประมงที่เป็นผู้เสียหายในประเทศไทย
นอกจากนี้เรายังมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในเครือข่ายในพื้นที่ต่าง ๆ ขององค์กรภาคประชาสังคม เช่น เครือข่าย DANGO ซึ่งองค์การนอกภาครัฐและภาคส่วนราชการต่าง ๆ (ในระดับจังหวัด) ได้ทำงานร่วมกันเพื่อนำแนวทางที่ชุมชนเป็นศูนย์กลางมาปรับใช้ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท การดำเนินการสนับสนุนของเราซึ่งเริ่มมาจากโครงการ MIG-RIGHT มีทิศทางสำคัญอย่างหนึ่งในการเน้นความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศต้นทางและปลายทางอันได้แก่ กัมพูชาและไทย ซึ่งด้วยเป้าหมายนี้เองทำให้เราจัดโครงการ International Exchange for Dialogueซึ่งเป็นโครงการการประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการศึกษาดูงาน โดยจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ในเดือนพฤษภาคม ปี 2018 ที่กรุงเทพมหานคร โครงการที่จัดขึ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างเวทีการพูดคุยที่มีประสิทธิภาพ โดยจะมีการจัดอย่างต่อเนื่องที่กัมพูชาในช่วงกลางปี 2019 และอีกครั้งในประเทศไทย
เราได้เชิญให้คณะกรรมาธิการอาเซียนและองค์การระหว่างประเทศติดตามการนำเครื่องมือระหว่างประเทศมาใช้เพื่อคุ้มครองแรงงานย้ายถิ่นและป้องกันรวมถึงขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ ทั้งนี้เพื่อยุติปัญหาแรงงานทาสในยุคปัจจุบันที่มักมาพร้อมกับการย้ายถิ่นฐาน
ท้ายที่สุดนี้ กลยุทธ์ของเราให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และการสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้เชี่ยวชาญที่แสดงความเห็นอย่างสาธารณะและผู้ออกกฎหมายในระดับต่าง ๆ ในประเด็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ย้ายถิ่นซึ่งถูกละเมิด โดยเราได้ให้คำแนะนำและแนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ
Labour Migration and Human Trafficking Conference Agenda
ดาวน์โหลดเอกสาร
Pres. Harkins
ดาวน์โหลดเอกสาร
Pres. Patima
ดาวน์โหลดเอกสาร
Mig-Right Conference Concept Note
ดาวน์โหลดเอกสาร
Pres. Romanelli
ดาวน์โหลดเอกสาร
Prof. Kyoko
ดาวน์โหลดเอกสาร
ข่าวสาร
และเหตุการณ์ต่างๆดูทั้งหมด

ไทยยื่นสัตยาบันต่ออนุสัญญา ILO ว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง ฉบับที่ 188
เมื่อวันที่ 30 มกราคม รัฐบาลไทยประกาศยื่นสัตยาบันสารอนุ […] อ่านเพิ่มเติม

จดหมายแสดงความขอบคุณต่อ GVC ในจังหวัดอุดดอร์เมียนเจย
GVC ได้รับจดหมายแสดงความขอบคุณจากนายอำเภอประจำอำเภออุดด […] อ่านเพิ่มเติม

ครบกำหนดการขึ้นทะเบียนแรงงานอพยพ ในประเทศไทย
แรงงานที่ยังไม่ได้จดทะเบียนมีเวลาในการไปจดทะเบียนในประเ […] อ่านเพิ่มเติม