คำนิยาม
ประเทศและองค์กรต่าง ๆ ใช้ศัพท์บัญญัติในการอธิบายทาสสมัยใหม่ต่างกัน แม้แต่คำว่า “ความเป็นทาส” เองและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นฐานและสิทธิของแรงงาน เช่น การค้ามนุษย์ แรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ การบังคับให้สมรสหรือสมรสเพื่อรับใช้ และการแสวงผลประโยชน์จากเด็กก็แตกต่างกัน
เรายึดคำนิยามจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศ การทำความเข้าใจคำศัพท์เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการระบุและกล่าวถึงความต้องการของชุมชน การสร้างนโยบายสนับสนุนและหลักการของโครงการต่าง ๆ
การค้ามนุษย์
มีการให้คำนิยามการค้ามนุษย์ไว้ในพิธีสารว่าด้วยการค้ามนุษย์ของสหประชาชาติ (UN Trafficking in Persons Protocol) หรือที่รู้จักกันในฐานะพิธีสารปาเลอร์โมอันหนึ่งจากสามพิธีสารที่เสริมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ซึ่งที่ผ่านมามี 173 ประเทศที่ได้ยื่นสัตยาบันแล้ว
การค้ามนุษย์เกี่ยวข้องกับสามขั้นตอน
- การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัยหรือการรับไว้ซึ่งบุคคล
- ด้วยการขู่เข็ญ หรือการใช้กำลัง หรือการบีบบังคับรูปแบบอื่น ๆ ด้วยการลักพาตัว ด้วยการฉ้อโกง ด้วยการหลอกลวง ด้วยการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือด้วยการใช้สถานะของความเสี่ยงภัย หรือการให้หรือรับเงิน หรือผลประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจ ควบคุมบุคคลอื่น
- โดยมุ่งหวังจะแสวงหาประโยชน์จากบุคคลนั้น ผ่านการค้าประเวณีของบุคคลอื่นหรือการแสวงประโยชน์ทางเพศ การบังคับใช้แรงงาน การเป็นทาส (หรือการกระทำเยี่ยงทาสอย่างอื่น) การทำให้ตกอยู่ใต้บังคับ หรือการตัดอวัยวะออกจากร่างกาย
การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัยหรือการรับเด็กไว้เพื่อแสวงประโยชน์จัดเป็น “การค้ามนุษย์” แม้การกระทำนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับการคุกคาม การใช้กำลัง หรือการบังคับ
แรงงานบังคับ
มีการนิยามแรงงานบังคับในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930 (ฉบับที่ 29) (International Labour Organization (ILO) Convention on Forced Labour 1930 (No. 29)) ไว้ว่า “งานหรือบริการซึ่งได้จากบุคคลใดจากการคุกคามโดยวิธีการลงโทษใด และโดยที่บุคคลผู้นั้นไม่ได้มอบงานหรือบริการให้ด้วยความสมัครใจ”
คำนิยามนี้ไม่รวมถึงการเกณฑ์ทหาร พันธะทางสังคมโดยทั่วไป การลงโทษโดยคำสั่งศาลในกรณีฉุกเฉินและการบริการชุมชนเล็กน้อย
ความเป็นทาสหรือการปฏิบัติเยี่ยงทาส
Slavery is defined in the 1926 Slavery Convention also known as “Convention to Suppress the Slave Trade and Slavery” as the status or condition of a person over whom any or all of the powers attaching to the right of ownership are exercised.
มีการนิยามความเป็นทาสในอนุสัญญาว่าด้วยความเป็นทาส (1926 Slavery Convention) หรือที่รู้จักในนาม “อนุสัญญาว่าด้วยการปราบปรามการค้าทาสและความเป็นทาส” โดยความเป็นทาสหมายถึงสถานะหรือสภาพของบุคคลเหนือบุคคลอื่นโดยมีอำนาจทางหนึ่งทางใดในการมีสิทธิเป็นเจ้าของบุคคลนั้น
พิธีสารที่แก้ไขเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 1956 ในอนุสัญญาเสริมว่าด้วยการเลิกทาสได้ปรับปรุงอนุสัญญาว่าด้วยความเป็นทาส ค.ศ. 1953 (Supplementary Convention on the Abolition of Slavery) โดยนิยาม ‘การปฏิบัติเยี่ยงทาส’ ซึ่งได้แก่ แรงงานขัดหนี้ การบังคับให้สมรสหรือสมรสเพื่อรับใช้ การขายหรือการแสวงประโยชน์จากเด็ก (โดยรวมถึงความขัดแย้งที่มีอาวุธ) การเป็นทาสติดที่ดินหรือทาสโดยกำเนิด
อนุสัญญาว่าด้วยความเป็นทาส ปี ค.ศ. 1926 ยังเรียกร้องให้เกิดการป้องกันและปราบปรามการค้าทาสและการเลิกทาสในทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์อีกด้วย
แรงงานขัดหนี้
อนุสัญญาเสริมว่าด้วยการเลิกทาส (มาตรา 1 (a)) ปี ค.ศ. 1956 (Supplementary Convention on the Abolition of Slavery (Article 1(a)) นิยามแรงงานขัดหนี้ว่าเป็น “สถานะหรือสภาพที่เกิดจากการจำนำโดยเจ้าหนี้ต่อแรงงานของบุคคลหรือแรงงานของบุคคลภายใต้การควบคุมของบุคคลนั้นเพื่อเป็นหลักประกันหนี้ในกรณีที่ค่าของแรงงานเหล่านี้ซึ่งประเมินแล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือระยะเวลาและลักษณะของการให้แรงงานเหล่านี้ไม่จำกัดหรือไม่ได้กำหนดไว้” แรงงานขัดหนี้เป็นสภาพที่บุคคลถือว่าการทำงานเป็นวิธีการชดเชยหนี้
การบังคับให้สมรสหรือสมรสเพื่อรับใช้
การบังคับให้สมรสและการสมรสก่อนวัยเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อทั้งชายและหญิง แต่ในกรณีส่วนมากเด็กผู้หญิงและผู้หญิงเป็นเหยื่อกลุ่มหลัก
อนุสัญญาว่าด้วยความเป็นทาส ปี ค.ศ. 1956 (The 1956 Slavery Convention) ได้นิยามการปฏิบัติต่อไปนี้ว่าเป็นการบังคับให้สมรส
- ผู้หญิงได้ถูกผูกสัญญาหรือยกให้ในการสมรสโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครอบครัว หรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นได้รับเงินหรือสิ่งอื่น โดยที่ผู้หญิงไม่มีสิทธิในการปฏิเสธ หรือ
- สามีของผู้หญิง ครอบครัวของสามี หรือญาติของสามีมีสิทธิที่จะส่งต่อผู้หญิงไปยังบุคคลอื่นโดยได้รับสิ่งมีค่าหรือสิ่งอื่นตอบแทน
- ผู้หญิงที่สามีเสียชีวิตที่จะตกเป็นมรดกของบุคคลอื่น
คำนิยามนี้มีการปรับปรุงในปี ค.ศ. 2006 โดยเลขาธิการสหประชาชาติซึ่งให้ความเห็นว่า “การบังคับให้สมรสคือการที่ไม่มีการยินยอมโดยอิสระหรือถูกต้องจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งฝ่าย” ดังนั้นการบังคับให้สมรสจึงหมายถึงสถานการณ์ที่การสมรสเกิดขึ้นโดยปราศจากการยินยอมจากฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายไม่ว่าพวกเขาจะอายุเท่าใด และสัมพันธ์กับความทุกข์ทางกายหรือจิตใจ ดังที่ระบุไว้ใน Joint General Recommendation No. 31 ของคณะกรรมาธิการว่าด้วยการยุติการแบ่งแยกต่อผู้หญิง (The Committee on the Elimination of Discrimination against Women)
การสมรสก่อนวัยโดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี เกี่ยวข้องกับการบังคับให้สมรสเนื่องจากผู้เยาว์เป็นผู้ที่ไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ดังนั้นจึงพึงตระหนักไว้ว่าหลาย ๆ ประเทศอนุญาตให้เด็กชายหรือหญิงอายุ 16 หรือ 17 ปีที่ต้องการจะสมรสโดยต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองหรือได้รับคำสั่งศาลก่อน
รูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก
ในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 182 ว่าด้วยการระงับและการกระทำงานโดยเร่งด่วนเพื่อการยุติรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก (the 1999 International Labour Conference Convention No.182, concerning the Prohibition and Immediate Action for the Elimination of the Worst Forms of Child Labour) ระบุว่า “รูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก” ประกอบด้วย
- ความเป็นทาสและการปฏิบัติเยี่ยงทาสทุกรูปแบบ อาทิ การค้าเด็ก แรงงานขัดหนี้ การเป็นทาสติดที่ดินหรือการบังคับแรงงานในรูปแบบอื่นใด อันรวมถึงการใช้เด็กในสงครามและความขัดแย้งที่มีอาวุธมาเกี่ยวข้อง
- กิจกรรมอื่นใดที่มีการแสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็ก เช่น การค้าประเวณี สื่อลามกอนาจาร หรือการแสดงในสื่อลามกอนาจาร
- การใช้เด็กในกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในการผลิตหรือค้ายาเสพติด
- งานที่อาจทำลายสุขภาพ ความปลอดภัยหรือสวัสดิภาพของเด็ก (หรือที่เรียกว่า “งานอันตราย”)
ข่าวสาร
และเหตุการณ์ต่างๆดูทั้งหมด

ไทยยื่นสัตยาบันต่ออนุสัญญา ILO ว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง ฉบับที่ 188
เมื่อวันที่ 30 มกราคม รัฐบาลไทยประกาศยื่นสัตยาบันสารอนุ […] อ่านเพิ่มเติม

จดหมายแสดงความขอบคุณต่อ GVC ในจังหวัดอุดดอร์เมียนเจย
GVC ได้รับจดหมายแสดงความขอบคุณจากนายอำเภอประจำอำเภออุดด […] อ่านเพิ่มเติม

ครบกำหนดการขึ้นทะเบียนแรงงานอพยพ ในประเทศไทย
แรงงานที่ยังไม่ได้จดทะเบียนมีเวลาในการไปจดทะเบียนในประเ […] อ่านเพิ่มเติม